Blog

การทำ SEO WordPress ให้ติดหน้าแรก Google

WordPress คืออะไร ?

WordPress คือ ระบบ CMS (Content Management System) เป็น open-source content management system ที่ช่วยจัดการคอนเทนท์ มี plugin และ template หรือ theme ให้เลือกใช้มากมาย สามารถใช้สร้างเว็บไซต์ได้รวดเร็ว ใช้งานง่าย สามารถใช้สร้างได้ Web Blog, Booking, Learning management system (LMS) และ E-commerce website รองรับการทำ SEO ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติเด่นๆ เหล่านี้ จึงทำให้ WordPress ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

Check list ปัจจัยสำคัญในการทำ SEO WordPress

1. เลือก Hosting ที่มีคุณภาพดี

การเลือก Hosting ที่มีคุณภาพดีสำหรับเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เป็นสิ่งสำคัญมากๆ อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้การทำ SEO ประสบความสำเร็จ การเลือก Hosting ที่มีคุณภาพดี การทำงานของ Server มีความเสถียร โหลดข้อมูลได้เร็ว นอกจากส่งผลดีต่อการทำ SEO แล้ว ยังส่งผลและให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้เข้าชมเว็บอีกด้วย ดังนั้นการ Hosting จึงไม่ควรมองที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว ให้พิจารณาจากประสิทธิภาพของ Hosting ด้วย

Check list สำหรับการเลือก Hosting WordPress

    • SSD Disk Space :  SSD Disk Space ทำงานได้เร็วกว่า HDD Disk Space
    • Data Transfer : ปริมาณข้อมูลที่เข้า-ออกจาก Server ผ่านการใช้งานของ User
    • Domain Add-ons :  จำนวนโดเมนที่รองรับการ Hosting ได้
    • รองรับการใช้งาน PHP : PHP 5, PHP 7 (7 up), Ajax, Soap, Smarty, Javascript, Node.js, SSI, Curl, GD Library, ioncube และ Cron job
    • MySQL :  รองรับการใช้งาน MySQL และเข้าจัดการแต่ละฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดายด้วย phpMyAdmin
    • SSL : รองรับการใช้งาน SSL (https://)
    • Down Time :  Server มีความเสถียรภาพสูง มีอัตรา Down Time แทบจะเป็นศูนย์
    • Support : มีพนักงานให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง คอยดูแลเว็บไซต์ บริการช่วยเหลือ แก้ปัญหา พร้อมให้คำปรึกษาตลอดทุกช่วงเวลา

 

2. เลือกธีม WordPress ที่ SEO Friendly

การเลือกธีม WordPress เป็นปัจจัยถัดมาที่ต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้ธีม โดยธีมที่ใช้ควรมี Performance ที่ดีโหลดได้เร็ว มี UX/UI ดี ใช้งานง่าย มีเครื่องมือ Page Builder ธีมไม่ใช้ Plugin มากจนเกินไป มีคะแนน PageSpeed ดี

 

3. ตั้งค่า Search Engine Visibility

ทำการตั้งค่า Search Engine Visibility เพื่อเปิดให้ Google bot เข้ามาเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ ไปทำ index ได้ หลังจากทำเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการตั้งค่าอนุญาตให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ โดยให้เข้าไปที่ เมนู Settings –> Reading –> Search engine vibibility และให้ เอาเครื่องหมายติ๊กถูกออก

 

4. ตั้งค่า Permalinks เพื่อทำ Friendly URL

Permallinks คือ การแสดงผล URL ซึ่งใน WordPress เราสามารถเลือกการตั้งค่า Permalinks ได้ 6 แบบ คือ

  • Plain
  • Day and name
  • Month and name
  •  Numeric
  • Post name
  • Custom Structure

การตั้งค่า Permalinks ที่แนะนำที่เหมาะสำหรับการทำ SEO ให้เลือกการตั้งค่าแบบ Post Name  โดยไปที่ Settings > Permalink แล้วติ๊กที่ช่อง Post name ตามภาพประกอบด้านล่าง

 

5. ทำเว็บให้น่าเชื่อถือ https

https (Hypertext Transfer Protocol Secure) คือ ที่โปรโตคอลที่ใช้สำหรับเรียกเข้าเว็บไซต์ ซึ่งการส่งข้อมูลระหว่าง Browser กับ Server จะถูกเข้ารหัส ทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในการรับส่งข้อมูล ซึ่ง Google ประกาศสนับสนุนให้ทุกเว็บไซต์ใช้ https:// ซึ่งในปัจจุบัน https ถือเป็นปัจจัยในการทำ SEO อย่างหนึ่ง  การทำ https ใน WordPress สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • การตั้งค่าที่ตัว Hosting
  • การตั้งค่า https ผ่าน Cloudflare

 

6. ติดตั้ง Plugin ที่ใช้ในการทำ SEO และดูแลความปลอดภัย

Plugin ที่แนะนำให้ทำการตั้งเพื่อใช้ในการทำ SEO และ Optimize เว็บไซต์ ดูแล monitor ความปลอดภัย ให้กับเว็บไซต์ มี ดังนี้

  • Yoast SEO : เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทำ SEO ปรับแต่ง On-page ใช้งานง่าย
    • Optimize On-page เช่น ใช้ตั้งค่า Title, Meta Description, ตั้งค่า Canonical
    • OpenGraph Meta tags : ใช้ตั้งค่า OpenGraph Meta tag
    • Create XML Sitemap : ใช้สำหรับสร้าง XML Sitemap
    • Robots Meta Tags : ใช้สำหรับตั้งค่า Robots Meta Tags
  • WP Fastest Cache : ใช้สำหรับการจัดการ Cache ที่มีความสามารถดี ช่วยให้เว็บเพิ่มความเร็วในการโหลดได้ดียิ่งขึ้น   มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน
  • Wordfence Security : ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ ป้องกันการแฮค ช่วย Block และ สแกน Malware
  • Table of Contents : ช่วยในการจัดทำสารบัญเนื้อหาให้กับหน้าเพจภายในเว็บไซต์

 

7. การทำ On-Page

หลังจากติดตั้ง Plugin Yoas SEO แล้ว เริ่มทำการปรับ On-page โดยจุดที่เข้าไปปรับปรุง ในแต่ละหน้าเพจ มีดังนี้ คือ

  • Title
  • Meta Description
  • Heading (H1, H2, H3)
  • Content

รูปแบบการใส่ Title, Meta Description, Heading และ Content ในแต่ละหน้าเพจ

  • Title :  Keyword + ข้อความขยาย  (ประมาณ 65-70 ตัวอักษร) ข้อความขยายควรเขียนให้ดึงดูดผู้อ่าน คลิกเข้าเว็บไซต์  ควรใส่ Keyword เพียงครั้งเดียวใน Title เพื่อทำให้ข้อความดูเด่น
  • Meta Description : Keyword + ข้อความขยายรายละเอียดเนื้อหาในเพจ  (ประมาณ 156 ตัวอักษร) ควรใส่ Keyword เพียงครั้งเดียวใน Title เพื่อทำให้ข้อความดูเด่น เขียนข้อความรายละเอียดเนื้อหาในเพจให้โดดเด่นชวนคลิกเข้าเว็บ
  • Heading : H1 ในแต่ละหน้าเพจ ควรมี H1 เพียง Tag เดียว จัดแบ่งโครงสร้างเนื้อหาออกเป็นหัวข้อรองๆ (H2, H3)
  • Content : เนื้อหาในหน้าเพจมี Keyword หลัก, Keyword รองๆ กระจายตัวอยํู่ ไม่ใส่ Keyword มากเกินไป ความหนาแน่นของ Keyword ประมาณ 1-1.5% ของจำนวนคำทั้งหมดของเนื้อหา

เรียนรู้การทำ On-Page เพิ่มเติม เพื่อทำให้เว็บไซต์องค์ประกอบต่างๆ ครบถ้วนและถูกต้องตาม Best Practice มากยิ่งขึ้น

 

8. การใช้ขนาดไฟล์ภาพที่เหมาะสม

ไฟล์ภาพที่ใช้ประกอบในการทำเว็บไซต์ ควรใช้ขนาดไฟล์รูปภาพที่เหมาะสม ไฟล์ภาพไม่ควรมีขนาดใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่อง Load time ซึ่งจะส่งผลในเรื่องของคะแนน PageSpeed ใน WordPress มี Plugin ที่ช่วยในการ Compress รูปภาพ ทำให้ไฟล์รูปภาพมีขนาดที่เล็กลง ถึงแม้จะมี Plugin ที่ช่วยในการ Compress ลดขนาดไฟล์ ขอแนะนำให้ทำการ Compress ไฟล์ภาพก่อน อัพโหลดไฟล์ภาพเข้าเว็บไซต์ เพื่อที่เว็บไซต์เราจะได้ลดการติดตั้ง Plugin ลง เพื่อทำให้ Performance โดยรวมของเว็บไซต์ดีขึ้น เว็บออนไลน์ที่ให้บริการ Compress ไฟล์รูปภาพ ที่ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ เช่น https://tinjpg.com

 

9. ทำ Internal Link

Internal Link คือ ลิงก์ ที่เชื่อมไปหน้าเพจที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา ทำให้ผู้เข้าชมเว็บอยู่ในเว็บของเราได้นานขึ้น ทำให้ Google มองว่า Content ของเรามีคุณภาพ หลักเกณฑ์การใส่ Internal Link มีดังนี้

  • วางแผนกำหนด Primary Keyword และ Secondary Key ของเว็บไซต์เรา
  • จัดวางโครงสร้างของเว็บไซต์ ในหน้าโฮมเพจ ควรมี Link จาก Primary Keyword ที่ผู้เข้าชมเว็บเห็นได้ชัดเจน และคลิกได้ง่าย
  • อย่าใช้ Text Link คำเดียวกัน Link ไป 2 หน้า
  • ทำ Link จากหน้าบทความ เชื่อมโยงไปหาหน้าเพจ ของ Primary Keyword
  • ในหน้าเพจของ Primary Keyword ห้ามทำ Link ด้วย Primary Keyword ออกไปที่หน้าอื่น
  • สีของ Text Link ควรแตกต่างจากสีของข้อความปกติ เพื่อที่ User จะเห็นได้ชัดเจนว่าเป็น Text Link

 

10. ทำสารบัญให้กับเนื้อหาในหน้าเพจ

จัดทำสารบัญให้กับเนื้อหาในหน้าเพจ เพื่อทำให้ User เลือกอ่านเนื้อหาที่อยากอ่านได้ตามหัวข้อในสารบัญ การทำสารบัญเนื้อหา ยังทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าเพจของเราได้ง่ายขึ้น ซึ่งใน WordPress เราสามารถใช้ Plugin Table of Contents ช่วยจัดการสร้างสารบัญได้

 

11. ตั้งค่า Canonical Tag

Canonical Tag คือ Tag ที่ใช้บอก Google bot ให้ทราบว่า URL ที่อยู่ใน Tag เป็น Primary URL ที่ให้ Google นำไปทำ index เราจะใช้ Canonical Tag ในกรณีที่มีหน้าที่มีเนื้อหาซ้ำ หรือเหมือนกันมากกว่า 1 หน้า เพื่อป้องกัน Duplicate Content

ซึ่งใน WordPress เราสามารถเข้าไปตั้งค่า Canonical Tag ได้ที่ ช่องกรอกข้อมูลใน Yoast SEO

 

 

12. ทำ 301 Redirec เมื่อมีการเปลี่ยนแก้ไข URL ทุกครั้ง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน แก้ไข URL ต้องทำ 301 Redirect ทุกครั้ง เพื่อทำให้ URL เก่าก่อนการแก้ไขที่ Google ทำ index ไปแล้ว ไม่สูญหาญ อันดับตก เมื่อ User เข้าผ่าน URL เก่า ระบบจะทำการส่งไปที่ URL ใหม่ การทำ 301 Redirect จะทำให้อันดับเราไม่หลุดไปจาก Google Search ซึ่งเราสามารถทำ 301 Redirect ผ่าน Plugin ใน WordPress ได้

 

13. สร้าง และส่ง XML Sitemap

XML Sitemap คือ ไฟล์ที่เก็บรวบรวม URL ต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา ให้ทำการสร้าง XML Sitemap เพื่อใช้สำหรับ Submit ใน Google Search Console เพื่อช่วยทำให้ Google Bot สามารถเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ของเราได้สะดวก รวดเร็วขึ้น เราสามารถสร้าง XML Sitemap ได้จากใน Plugin Yoast SEO โดยเข้าไปที่เมนู

Yoast SEO –> เลือกแทบ Features –> คลิกที่ XML Sitemap –> คลิก See the XML sitemap –> Copy URL ของ Sitemap เพื่อนำไป Submit

14. ลงทะเบียนติดตั้ง Google Search Console

Google Search Console เป็นเครื่องมือฟรี จาก Google ที่ใช้ในการ Submit เว็บไซต์ให้ Google เข้าเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์เพื่อจัดทำ index และยังใช้ดู Performance ของเว็บไซต์ หลังจากลงทะเบียนและติดตั้ง Google Search Console แล้ว ให้ทำการ Submit ส่ง XML Sitemap เพื่อให้ Google ทราบข้อมูลโครงสร้างภายเว็บไซต์ของเรา และสะดวกในการเข้ามาเก็บข้อมูล เราสามารถส่ง XML Sitemap โดยเข้าไปที่เมนู Sitemaps แล้วกรอก URL ของ sitemap เพื่อทำการ Submit

 

15. อัพเดทเนื้อหา บทความภายในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ

หลังจากทำเว็บไซต์เสร็จแล้วพยายามอัพเดทเนื้อหา บทความภายในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพราะ Google ชอบเว็บไซต์ที่มีการอัพเดทคอนเท้นท์ที่ Fresh สดใหม่อยู่เสมอ ควรทำบทความ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์เราอย่างสม่ำเสมอ เพราะสามารถช่วยการทำ SEO ได้เป็นอย่างดี ทำให้เว็บไซต์ของเรามีโอกาสติดอันดับ Organic Keyword จากบทความ ที่เราทำขึ้น บทความต่างๆ ยังช่วยเพิ่ม Organic Traffic ทำให้การทำ SEO มีโอกาสประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น

admin

เผยแพร่ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ SEO สำหรับผู้ที่สนใจทางด้าน SEO และ Digital Marketing

Share
Published by
admin

Recent Posts

สอนทำ SEO ฟรี ทำให้เว็บติดหน้าแรก สายขาว 2022

SEO คืออะไร ? SEO (Search Engine Optimization) คือ กระบวนการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อทำให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรก Google ในพื้นที่ Organic Result ด้วยคำค้นหา…

2 years ago

การกู้คืน Rank จาก Negative SEO

การกู้คืน Rank จาก Negative SEO การกู้คืน Rank จาก Negative SEO (Recover from a negative SEO) ในการทำ…

5 years ago

การสร้าง Local Page สำหรับธุรกิจที่มีหลาย Location

หลายๆ ธุรกิจที่มี Location หลายๆ Location มักจะรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดเกี่ยวกับธุรกิจ ไว้ใน Master Landing page ที่เดียว ซึ่งเป็น big mistake…

5 years ago