การทำ On-Page SEO

การทำ On-Page คือ การปรับปรุง ปรับแต่ง องค์ประกอบต่างๆ ภายในเว็บไซต์ ที่เป็นปัจจัยที่ Search Engine นำไปพิจารณาในการจัดลำดับ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ให้มี Keyword ปะปนอยู่ในทุกองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยในการทำอันดับ โดยการเลือก Keyword ก็ควรต้องทำการวิเคราะห์มาก่อน หรือที่เรียกว่า การทำ Keyword Research เพื่อเลือก Keyword ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา

องค์ประกอบต่างๆ ในการทำ On-Page

  • Domain: ในกรณีจดโดเมนใหม่ ควรมี Keyword คำสำคัญอยู่ในโดเมน
  • URL: ควร Friendly กับ Search engine มีคำสำคัญอยู่ใน URL

http://www.abc.com/index.php?id=9455

http://www.abc.com/10-ร้านเคสไอโฟนในไอจี/

  • Title tag: ประมาณ 65-70 ตัวอักษร
  • Meta description tag: ประมาณ 156 ตัวอักษร (Google เปลี่ยนแปลงเพิ่มขยายในหน้า SERP ให้ถึงประมาณ 320 ตัวอักษร)
  • Heading tag: H1 ทำหน้าที่ เหมือนกับเป็นหัวเรื่อง ในหนึ่งเพจควรมี H1 tag เพียง 1 tag H2, H3 ก็มีความสำคัญเหมือนกัน
  • Content: อย่าใส่ keyword ซ้ำกัน เยอะเกินไป อาจถูกมองเป็น Spam
  • Bold and Italic tags: มีการทำตัวอักษรตัวหนา หรือ ตัวเอียง บ้างใน Content ในส่วนของเนื้อหา ที่เป็นข้อความสำคัญ
  • Internal Link: การสร้างลิงค์ภายในเว็บไซต์, การสร้างลิงค์จากหน้าที่ Authority สูงๆ ไปยังหน้าอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน
  • Anchor Text: ข้อความของลิ้งค์ ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ส่วนใหญ่เราจะเน้น เอา Keyword มาทำเป็นข้อความของลิงค์ แต่การปรับ algorithm ใหม่ๆ ของ google ใช้ลักษณะ Longtail Keyword จะได้ผลมากกว่า
  • Alt tag: คำอธิบายรูปภาพ ในแง่ของผู้อ่านเราดูภาพสามารถเข้าใจความหมายของรูปภาพได้ แต่สำหรับ Search engine ไม่เข้าใจความหมายของรูปภาพได้ว่าต้องการจะสื่ออะไร Alt tag จึงเป็น tag ที่อธิบายความของภาพให้ Search engine เข้าใจ
  • File name: ชื่อไฟล์รูปภาพ ก็มีส่วนช่วยในเรื่องของ SEO ชื่อไฟล์รูปภาพ ก็ควรจะตั้งชื่อให้ ให้มี Keyword ของเพจนั้นๆ ถ้าต้องใช้เครื่องหมายคั่นคำอย่าใช้ _ underscore เพราะมันจะมองเป็นคำๆ เดียวกัน ให้ใช้เครื่องหมายขีดกลาง – Dash แทน
  • File size: ขนาดของไฟล์รูปภาพ (มีผลในเรื่องของเวลาในการโหลดเพจ)
  • CSS/Javascript file: มีผลในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการโหลดเพจ
  • Duplicate content: นอกจากการ copy บทความจากที่อื่นมาใส่ในเว็บโดยไม่มีการรีไรท์  การเปิดใช้งานเว็บได้ทั้งแบบ www และ non-www ซึ่ง Search engine ก็มองว่าเป็น Duplicate content

    http://www.abc.com/

    http://abc.com/

    http://www.abc.com/index.php

    http://abc.com/index.php

     

ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ On-page

  • Content Length: ความยาวของเนื้อหา จำนวนคำของเนื้อหาไม่ควรจะน้อยกว่า 500 คำ ใน 1 เพจ
  • Page Load Time: เวลาที่ใช้ในการโหลดเว็บไม่ควรใช้เวลานานเกินไป
  • Keyword Prominence: มี Keyword ปรากฏอยู่ใน 100 คำแรกของ Content ในเพจ
  • Broken Link: การมีลิงค์อยู่ในเว็บไซต์ ย่อมเป็นผลลบกับการทำ SEO
  • HTML Error: การที่มีหน้า Error อยู่ภายในเว็บไซต์อาจจะทำให้ถูกมองว่าเว็บขาดความน่าเชื่อถือ คุณภาพต่ำได้
  • URL: URL ที่ยาวมากเกินไปอาจจะไม่ค่อย Friendly สำหรับ Search engine
  • Page Category: ควรจัดมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่ความเกี่ยวข้องกันภายในเว็บไซต์ เพื่อให้เกิด relevancy signal
  • Too Many Outbound Links: ในเว็บเพจถ้ามีลิงค์ออกมากเกินไปจะเป็นผลลบในการทำ SEO ได้
  • Page Age: ถึงเม้ว่า Google จะชอบหน้าเพจที่มีเนื้อสดและใหม่ Content ในหน้าเพจเก่าๆ เราก็สามารถอัพเดทเนื้อหาให้สดใหม่ได้ ซึ่งบางทีจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างเพจใหม่
  • SSL Certificate: เว็บไซต์ที่มีการใช้ HTTPS จะได้รับ Ranking signal ซึ่ง Google มองว่ามีความน่าเชื่อถือมากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ HTTPS
  • Mobile Frendly: เว็บไซต์ควรออกแบบและพัฒนาให้รองรับการทำงานทุกอุปกรณ์ และควรทดสอบ Mobile Friendly

 

For privacy reasons YouTube needs your permission to be loaded.
I Accept

เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ On-Page

เว็บออนไลน์ที่ช่วยในการวิเคราะห์ On-Page มีอยู่หลายตัวด้วยกัน ลงทดสอบใช้งานกันได้เลย  เช่น

  • https://sitechecker.pro/
  • https://neilpatel.com/seo-analyzer/

 

เครื่องมือที่ช่วยในการทำ Title tag และ Meta Description

http://www.seomofo.com/snippet-optimizer.html เครื่องมือตัวนี้มีประโยชน์อย่างมาในการทำ Title และ Meta Description มันจะช่วยจำลองหน้า SERP ของ Google ให้เราดูว่า ตัว Title และ Meta Description ที่เราเขียนขึ้นมีความยาวเกินการแสดงผลหรือเปล่า

 


Cr: https://backlinko.com

สนใจทำ SEO คุณภาพ สายขาว ปลอดภัย คลิกเลย รับทำ SEO รับข้อเสนอ ตรวจเช็คคุณภาพเว็บไซต์ฟรี